ติดต่อโฆษณา ส่งข่าวประชาสัมพันธ์ เชิญร่วมงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือเชิญทดสอบรถ ติดต่อ Car4YouMag

Car4YouMag

ถ้าป่วยเป็นมะเร็งปอด จะรอดมั้ยครับ? โดย รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ทรวงอกเฉพาะทาง ด้านการผ่าตัดส่องกล้องในช่องทรวงอก

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhdDs91J2NdJg2PLq5ly6x12GrX0sinUZAwbtz1ItsxDqLrn9dKPQQVVf3OHZTPPi4puQmOOfc-m2wY2K2e0CBQ_IjoQ4jr5KucaI_GD_o1lF4HGUsUSgwBiTelFV9j9uzzP27a2OoyhAgGtr2m6krq7ez3YzZO_myuhXIIm-Kg-3kRqKSZnEJp9TmRHcU/s16000/Cover-%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%9C%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A_copy_1024x536.jpg

ในยุคฝุ่น PM.25 มหันตภัยด้านมลพิษคุกคามคนไปทั่วโลก ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงจากโรคมะเร็งปอดมากขึ้น … ผู้ป่วยเข้ามารับการรักษามากขึ้น อีกทั้งยังพบผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดที่มีอายุที่น้อยลงมากขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบันมีคำถามยอดฮิต เช่น ผมเจอมะเร็งปอด แล้วผมอยู่นานรึเปล่า?, หรือจะมีโอกาสรอดหรือมั้ย? จากสถิติของข้อมูลจากสถาบันมะเร็งนานาชาติ พบว่าหนึ่งในโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในโลก คือ “มะเร็งปอด” และมีอัตราการตายจากโรคมะเร็งที่สูงที่สุด ก็คือ “โรคมะเร็งปอด” นั่นเอง

ในส่วนของมะเร็งชนิดอื่น ๆ เช่น มะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ เมื่อผู้ป่วยเริ่มมีอาการและมักมาหาแพทย์ด้วยความรวดเร็วขึ้น เนื่องจาก มะเร็งเต้านมอยู่ภายนอกสามารถคลำได้ เจอได้ก่อนที่จะลุกลาม ส่วนมะเร็งลำไส้ใหญ่มักจะมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไปและมีอาการเตือนเป็นช่วงๆ เช่น ถ่ายอุจจาระผิดปกติ มีเลือดออก ส่วนมะเร็งปอด โดยส่วนมากแล้วคนไข้มักจะมาหาแพทย์ด้วยระยะที่เป็นมากแล้ว 

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEj6zzRBzNbc7x5D0fFUDfh7fFR-i4fXEUDKVRW292sNvWDpUMwOJozIkZWQCRwU2R81KjMGvJLMcMxDJQByOfveCPip-RMpSq0fcBbNRLv8sDOjGBPd4nJnQRYnVrjW33O65RyHUptQeupxO8fDQqZ5qlT4LmjgywDnc0A2SjmbEn6APKRwfPAYP-FLsu8/s16000/TargetedTherapy2_copy_1024x473.jpg

เพราะปอดเป็นอวัยวะภายในและมักไม่มีการแสดงอาการในระยะแรก โดยปอดมีพื้นที่เยอะ ก้อนมะเร็งแค่ 1 เซนติเมตรหรืออาจไม่ถึง 1% ของพื้นที่ปอด ซึ่งกว่าที่จะมีอาการก็มักจะเป็นมากแล้ว ดังนั้นการรักษาเลยได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร ผู้ป่วยที่มาครั้งแรกจากโรคมะเร็งปอดจำนวนกว่า 60 - 70% มักจะตรวจเจออุบัติการณ์ของโรคในระยะที่ 4 ส่วนระยะที่ 3 จะอยู่แค่ประมาณ 20%และในระยะที่ 1 - 2 จะอยู่รวมกันประมาณ 15 - 20% เท่านั้น

ปัจจุบันวิธีการตรวจที่มีการศึกษาและยืนยันว่าจะช่วยลดอัตราการตายของมะเร็งปอด คือ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดรังสีต่ำ (Low-dose Computed Tomography: LDCT ) ซึ่งจะช่วยให้วินิจฉัยก้อนมะเร็งได้รวดเร็วขึ้น วิธีการนี้มักจะเหมาะสมกับคนไข้ที่มีความเสี่ยงของโรคมะเร็งสูง เช่น คนไข้ที่สูบบุหรี่หนักและเป็นเวลานาน โรคมะเร็งปอดนั้นเราสามารถรักษาได้ทั้งการผ่าตัดและการให้ยารักษา เช่น การใช้ยาเคมีบำบัด ยาพุ่งเป้าหรือการฉายแสง โดยเฉพาะคนไข้ที่เจอโรคในระยะเริ่มต้น การผ่าตัดมักมีโอกาสหายขาดได้มาก 

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEivboq704PlYqz896OqxQWvkGijcfeI5hJqmRZmUpEl2EhFPDJ0O5KgWV_2dP3qoEYiJ0R4pKqQxNFSGFjPqAvZ3Mu4sawsRAIuYkqPg8y-tLYlOh3ikN9eF3qsHGCn-3F-MmX_C8F4_GBiLIp3ejbwCjvaHMaDLkztUPi0sLNF5unBgU_fFKn3aXviUcw/s16000/TargetedTherapy1_copy_1024x570.jpg

อีกทั้งยิ่งเป็นการผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง เช่น การผ่าตัดแบบจุดเดียวจะส่งผลทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้รวดเร็ว ลดภาวะแทรกซ้อนกว่าการผ่าตัดแบบเปิด เวลาผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งแล้ว มักจะถูกมองว่าเค้าอาจจะมีชีวิตอยู่อีกไม่นาน แต่รู้หรือไม่ว่าในโลกปัจจุบันไม่ใช่เป็นแบบนั้นอีกแล้ว เรามีการรักษาโรคมะเร็งปอดที่รักษาให้หายขาดได้ หรือแม้กระทั่งโรคมะเร็งปอดที่แพร่กระจายแล้ว คนไข้ก็ยังมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีชีวิตที่ยืนยาว สามารถที่จะมีชีวิตอยู่อย่างใกล้เคียงเป็นปกติได้

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgvVnIceilMiSNMXwCnJmH-ztiV3F3DFrQ2lQPfAiF0fKLtjLloemV3tZ_4ktGToaq0-06ONruxrBT8naIf2XwjSA5SMBGS4z79ykDdT1ueXNnW_VFu8q5hNz5n8iTnqM2oy_7CN9_mS4bse_56moyu3kQqiNEMjEYxmvZSvo-N4n5oZtVCWuQCSiReE-E/s16000/targeted-therapy_copy_1024x576.jpg

สำหรับในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา โอกาสรอดชีวิตที่ 5 ปี ของคนไข้มะเร็งปอดเมื่อระยะที่ 1 จะมีมากถึง 80-90% และ ระยะ 2 โอกาสรอด 50-70% ส่วนในระยะ 3 โอกาสรอด 30-50% และในระยะ 4 โอกาสรอด 0 - 20% โดยการรักษาในปัจจุบันมีการใช้ยามุ่งเป้าสำหรับผู้ป่วยที่มีลักษณะทางพันธุกรรมของมะเร็งปอด เช่น EGFR,ALK,ROS-1 นั้น ๆ ทำให้คนไข้มีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น และผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือผู้ป่วยต้องเข้าถึงการรักษาให้เร็วที่สุดและต้องร่วมมือในการรักษา และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ “อย่าหลงทาง” ถ้าผู้ป่วยหลงทางไปรักษาในวิธีที่ไม่เหมาะสม ก็จะทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาส

ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุด คือ ผู้ป่วยต้องไม่เสียโอกาส ต้องรีบใช้โอกาสที่จะรักษาให้หายและรักษาโรคมะเร็งปอดนี้ไว้ให้ได้ โดยโดยปรึกษาผ่านเพจเฟซบุ๊ก ผ่าตัดปอดโดย รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย ได้ที่ Lineid:@lungsurgeryth หรือเว็บไซต์ https://www.siradoctorlung.com

ขับเคลื่อนโดย Blogger.