ติดต่อโฆษณา ส่งข่าวประชาสัมพันธ์ เชิญร่วมงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือเชิญทดสอบรถ ติดต่อ Car4YouMag

Car4YouMag

สกสว. ร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ กำหนดทิศทางไปต่อของ "เทคโนโลยีอวกาศไทย" รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมอวกาศในอนาคต


 

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับ คณะวิจัย ผ่านเครือข่าย TIME Labs มหาวิทยาลัยมหิดล จัดประชุมรับฟังความเห็น “การขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากแผนที่นำทางการวิจัยขั้นแนวหน้าระบบโลกและอวกาศ” โดยมี รศ.ดร. วีระพงษ์ แพสุวรรณ ประธานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ด้านวิทยาศาสตร์ ในฐานะผู้แทน นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. เป็นประธานเปิดงาน เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา

และปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ความสำคัญของแผนที่นำทางการวิจัยขั้นแนวหน้าระบบโลก และอวกาศ กับการขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ” อีกทั้งรับฟังการนำเสนอผลการศึกษาออกแบบกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อจัดทำแผนที่นำทางการวิจัยขั้นแนวหน้าระบบโลกและอวกาศ โดย รศ.ดร.ณัฐสิทธิ์ เกิดศรี และคณะนักวิจัย

https://www.mhesi.go.th/images/2567/Kaew_Thanida/08/28082567/IMG_6891.JPG

นอกจาการปาฐกถาพิเศษ และ การนำเสนอผลการศึกษาดังกล่าวแล้ว งานประชุมดังกล่าว มีการเสวนา “ขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากแผนที่นำทางการวิจัยขั้นแนวหน้าระบบโลกและอวกาศ” โดย ดร.สิทธิพร ชาญนำสิน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ นายพงศกร มีมากวิศวกรวิจัย และรองผู้จัดการโครงการดาวเทียม TSC-1 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) รศ.ดร.ณัฐพร ฉัตรแถม ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.ถนอม ปลื้มวงศ์โรจน์ Engineering Dev. Manager Lumentum International (Thailand) Co., Ltd ดำเนินรายการโดย ดร.ธันยวัต สมใจทวีพร ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ รวมถึงการบรรยายสรุป แนวทางของ สกสว. ในการใช้แผนที่นำทางฯเพื่อขับเคลื่อนการวิจัยขั้นแนวหน้าระบบโลกและอวกาศ  โดย ดร.ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์  รองผู้อำนวยการ สกสว.

https://www.mhesi.go.th/images/2567/Kaew_Thanida/08/28082567/IMG_6892.JPG

สกสว. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การสนับสนุนโครงการการศึกษาออกแบบกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อจัดทำแผนที่นำทางการวิจัยขั้นแนวหน้าระบบโลกและอวกาศ จะได้แนวทางการจัดทำแผนที่นำทางฯ ที่ชัดเจน ผ่านการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังของภาคเอกชน ภาครัฐ และมหาวิทยาลัย/ สถาบันวิจัย ทำให้การกำหนดทิศทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีมีความต่อเนื่องประกอบกับการสร้างระบบนิเวศของกลุ่มวิจัย (Ecosystem) ที่มีประสิทธิภาพจะส่งผลให้การพัฒนานวัตกรรมมีคุณภาพรองรับความต้องการในอนาคต นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เข้มแข็งยั่งยืนต่อไป

ขับเคลื่อนโดย Blogger.