ติดต่อโฆษณา ส่งข่าวประชาสัมพันธ์ เชิญร่วมงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือเชิญทดสอบรถ ติดต่อ Car4YouMag

Car4YouMag

สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า พร้อม! เหลียวหลัง แลหน้า อนาคตการกำกับการแข่งขันของไทยกับความท้าทายใหม่ที่รออยู่


 

สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (สำนักงาน กขค.) ร่วมกับองค์การศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศ (International Trade Centre: ITC) จัดงาน “TCCT Competition Policy Symposium: An Optimal Competition Policy For Thailand นโยบายการแข่งขันที่เหมาะสมต่อไทย” ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการรวมตัวทางเศรษฐกิจภูมิภาคอาเซียนจากสหภาพยุโรปเพิ่มเติมต่อประเทศไทย (ASEAN Regional Integration Support from the EU Plus Project: ARISE Plus -Thailand) ณ โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์

เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งในและต่างประเทศในการกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาการกำกับการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีระบบการแข่งขันที่สามารถสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

https://images.workpointtoday.com/workpointnews/2024/07/18124311/1721281387_88429_.jpg

โดยได้รับเกียรติจาก นายยรรยง พวงราช ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) กล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษในหัวข้อนโยบายการแข่งขันกับทิศทางการพัฒนาประเทศ พร้อมทั้ง ฯพณฯ เดวิด เดลี (H.E. David Daly) เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ฯพณฯ ดร. แอนเจลา แมคโดนัลด์ (H.E. Dr. Angela Macdonald PSM) เอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียประจำประเทศไทย นายสนธิรัตน์ สนธิจิริวงศ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ให้เกียรติร่วมปาฐกถาพิเศษด้วย

นายยรรยง พวงราช กล่าวว่า ในด้านการทำงานของรัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ในปัจจุบัน นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับการปรับตัวและการเตรียมความพร้อมของภาคธุรกิจไทยเพื่อรับมือกับผลกระทบกับมาตรการทางการค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและแนวโน้มความยั่งยืนของโลก โดยเฉพาะการต้องดูแลเอาใจใส่คนตัวเล็ก SME ขนาดเล็กขนาดกลาง ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีนโยบายที่สำคัญ ดังนี้

1) เน้นให้ทุกภาคส่วนมีการผลักดันส่งเสริมหรือสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน บริหารให้เกิดความสมดุลระหว่างเกษตรกร ผู้ประกอบการภาคธุรกิจ และผู้บริโภค ให้ทุกฝ่ายสามารถดำเนินกิจการได้อย่างมั่นคง ยั่งยืน และเป็นประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย โดยรองนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำอยู่เสมอว่ารัฐบาล กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมีภารกิจที่จะต้องบริหารให้เกิดความสมดุลแห่งผลประโยชน์ของผู้ประกอบการในแต่ละภาคส่วนซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกัน จึงเป็นความท้าทายของผู้ที่มีส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

2) รัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ ต้องการส่งเสริมพัฒนาทักษะความรู้และขีดความสามารถในด้านการตลาดที่จำเป็น เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความสามารถมีความคิดสร้างสรรค์สามารถแข่งขันได้ภายใต้การค้ารูปแบบใหม่

3) สร้างหรือทบทวนบทบัญญัติกฎหมายเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง สำนักงาน กขค. จะได้พิจารณาวางกฎเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับพฤติกรรม ทางธุรกิจการค้าใหม่ๆ ให้เป็นแนวทางปฏิบัติการค้าที่ชัดเจนและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยการสร้างบรรทัดฐานต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน สำหรับนโยบายด้านการค้าและนโยบายการแข่งขันทางการค้าในระดับรัฐบาลได้ถูกกำหนดในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนมีเป้าหมายร่วมกันที่จะต้องมุ่งให้บรรลุตามแผนดังกล่าว

https://www.dailynews.co.th/wp-content/uploads/2024/07/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%8C-%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%81_-1-1280x854.jpg

“การประชุมในวัน TCCT Competition Policy Symposium 2024 จะเป็นการออกแบบนโยบายการแข่งขันที่เหมาะสมกับประเทศไทยและมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาต่อไป โดยส่วนที่เกี่ยวข้องกับมิติระหว่างประเทศหรือในเวทีโลกจะเกี่ยวข้องกับพันธสัญญาต่างๆ ภายใต้ WTO FTA ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจการค้าต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในหลักการและทิศทางเดียวกันทั้งในประเทศและระหว่างประเทศนั้น จำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์กติกาเกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้าที่เสรีและเป็นธรรมที่มีประสิทธิภาพและชัดเจน และกติกาเหล่านี้สามารถขับเคลื่อนโดยกลไกลที่เป็นอิสระ ซึ่งท้ายที่สุดจะทำให้ผู้ประกอบการในประเทศสามารถแข่งขันในระดับสากลได้”

https://images.workpointtoday.com/workpointnews/2024/07/18124301/1721281376_67658_.jpg

ด้าน ดร.รักษเกชา แฉ่ฉาย กรรมการการแข่งขันทางการค้า เปิดเผยว่า การจัดงานในครั้งนี้คาดว่าจะได้ข้อมูลน่าสนใจ ที่จะนำไปสู่การดำเนินการทั้งระยะสั้นและระยะยาว ทั้งแนวทางต่าง ๆ ในระยะสั้น เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัว รวมถึงการแก้ไขกฎหมาย การแก้ไขระเบียบวิธีปฏิบัติในระยะยาว ซึ่งเป็นกระบวนการของทางด้านสภานิติบัญญัติที่จำเป็นต้องใช้เวลา

https://images.workpointtoday.com/workpointnews/2024/07/18124230/1721281345_96849_TCCT__4.jpg

นอกจากนี้มีตัวแทนจากภาครัฐ อาทิเช่น นิติบัญญัติ กระบวนการยุติธรรม สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ สิ่งแวดล้อม การศึกษา และภาคเอกชน รวมถึงตัวแทนจากหน่วยงานต่างประเทศเข้าร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองประสบการณ์ และถอดบทเรียนทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงนำเสนอผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้อง และร่วมกันให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้า เช่นประเด็นการกระจุกตัว การแข่งขันและการพัฒนาเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากต่างประเทศเพื่อพัฒนานโยบายการแข่งขัน การปรับปรุงระบบนิเวศการแข่งขันไทยให้สอดคล้องกับกระแสโลกนโยบายการกำกับการแข่งขันทางการค้าในตลาดดิจิทัล นโยบายการกำกับการแข่งขันทางการค้า ต่อประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม นโยบายการกำกับการแข่งขันทางการค้าต่อการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

https://images.workpointtoday.com/workpointnews/2024/07/18124210/1721281325_89864_TCCT__2.jpg

การจัดงานครั้งนี้เป็นการฉายภาพรวมในอดีตของนโยบายการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทย โดยนำเสนอผลงานที่สำคัญภายใต้การบังคับใช้ พ.ร.บ. แข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ตลอดระยะเวลากว่า 5 ปี ที่ผ่านมา เพื่อปรับปรุงการออกนโยบายการกำกับดูการแข่งขันทางการค้าของไทยให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ พร้อมรับมือกับกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบธุรกิจและเศรษฐกิจไทย

https://images.workpointtoday.com/workpointnews/2024/07/18124159/1721281314_41200_TCCT__1.jpg

อีกทั้งเพื่อเป็นการยกระดับนโยบายการแข่งขันทางการค้าของไทยให้ทัดเทียมมาตรฐานสากล เตรียมพร้อมสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ OECD ซึ่งในขณะนี้ไทยกำลังอยู่ในกระบวนการเข้าสู่การเป็นสมาชิกกลุ่ม สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพด้านการแข่งขันทางการค้าของไทยในสายตานานาชาติ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.