ติดต่อโฆษณา ส่งข่าวประชาสัมพันธ์ เชิญร่วมงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือเชิญทดสอบรถ ติดต่อ Car4YouMag

Car4YouMag

Royal Enfield เผยโฉม "Project Origin" เปิดตำนาน "มอเตอร์ไซค์คันแรก" ส่งต่อแรงบันดาลใจ "Pure Motorcycling" สู่ปัจจุบัน


 

Royal Enfield (รอยัล เอ็นฟีลด์) แบรนด์รถจักรยานยนต์ระดับโลก เผยโฉม ‘Project Origin’ นำรถจักรยานยนต์คันประวัติศาสตร์ของแบรนด์ให้กลับมาฟื้นคืนชีวิต อวดโฉมให้สาวก Royal Enfield ทั่วโลกได้ชื่นชม นับเป็นการรำลึกถึงประวัติศาสตร์อันยาวนาน 123 ปี ของ Royal Enfield และด้วยความมุ่งมั่นในการถ่ายทอดเจตนารมณ์ของแบรนด์ เรื่องราวของ Project Origin ถือเป็นการส่งต่อแรงบันดาลใจและจิตวิญญาณที่ Royal Enfield มุ่งมั่นสร้างเครือข่ายนักบิดสะท้อนเอกลักษณ์ ‘Pure Motorcycling’ หรือ “จิตวิญญาณของการขับขี่ที่แท้จริง” จนถึงปัจจุบัน

https://cf.autodeft2.pw/content/20240510/project-origin-2-D6FcF8.jpg

ด้วย tagline ‘Since 1901’ ภายใต้แบรนด์ Royal Enfield สะท้อนเอกลักษณ์และความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์อันยาวนานถึง 123  ปี ของ Royal Enfield ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวแห่งความมุ่งมั่น ความทุ่มเท และความหลงใหลในโลกของรถมอเตอร์ไซค์ที่แบรนด์ยังคงยืนหยัดผลิตมอเตอร์ไซค์ที่มีเอกลักษณ์มาต่อเนื่องยาวนานที่สุดในโลก ‘ปี 1901’ จึงไม่ใช่แค่ปีที่ Royal Enfield ถือกำเนิด แต่ยังเป็นปีที่สร้างตำนานบทใหม่ให้กับวงการมอเตอร์ไซค์ที่ครองใจผู้รักการผจญภัย และหลงใหลในเสน่ห์ของรถมอเตอร์ไซค์มาจนถึงปัจจุบัน

https://cf.autodeft2.pw/content/20240510/project-origin-5-pCmjbC.jpg

‘Project Origin’ เกิดขึ้นจากความท้าทายที่คุณ กอร์ดอน เมย์ นักประวัติศาสตร์ของ Royal Enfield มอบโจทย์ให้กับทีมนักออกแบบและวิศวกรรมของ Royal Enfield ให้ช่วยสร้างสรรค์ ‘รถมอเตอร์ไซค์คันแรก’ ที่ถือกำเนิดขึ้นในปี 1901 โดยผลงานความภาคภูมิใจนี้ได้รับการออกแบบและสร้างสรรค์ร่วมกันระหว่าง จูลส์ โกเบียต วิศวกรชาวฝรั่งเศส และ บ็อบ วอล์คเกอร์ สมิธ ผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้านักออกแบบของ Royal Enfield

https://cf.autodeft2.pw/content/20240510/project-origin-9-PhxTa0.jpg

ในยุคแรกของวงการมอเตอร์ไซค์  ยังไม่มีการจัดงานแสดงรถมอเตอร์ไซค์อย่างแพร่หลาย รถมอเตอร์ไซค์ต้นแบบของ Royal Enfield คันนี้จึงถูกนำไปจัดแสดงในงาน ‘Stanley Cycle Show’ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในเดือนพฤศจิกายน 1901 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่รถมอเตอร์ไซค์สองล้อจาก Royal Enfield ปรากฏโฉมต่อสาธารณชน

https://cf.autodeft2.pw/content/20240510/project-origin-6-V4OF1o.jpg

อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของประวัติศาสตร์อันรุ่งโรจน์ของ Royal Enfield ยังคงมีบางส่วนที่ขาดหายไป ไม่สามารถสืบค้นหาแบบแปลนการออกแบบหรือภาพวาดทางเทคนิคต้นฉบับที่สามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงที่ชัดเจนในการศึกษาการสร้างสรรค์รถมอเตอร์ไซค์คันนี้ได้ สิ่งที่หลงเหลืออยู่เป็นเพียงภาพถ่ายโบราณไม่กี่ภาพ โปสเตอร์โฆษณาในยุคนั้น รวมถึงบทความประกอบภาพจากสื่อสิ่งพิมพ์ในปี 1901 จำนวน 2-3 ชิ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ นำไปสู่การสืบค้นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในเชิงการออกแบบ และการทำงานที่อาจจะเป็นไปได้ของรถมอเตอร์ไซค์คันนี้เท่านั้น

https://cf.autodeft2.pw/content/20240510/project-origin-7-O3xNoM.jpg

ในส่วนของการออกแบบ หัวใจของความแตกต่างอยู่ที่ระบบเครื่องยนต์ กลไก และหลักสรีรศาสตร์ โดยเครื่องยนต์ 1 ¾ แรงม้าของรถมอเตอร์ไซค์ต้นแบบนี้ ติดตั้งอยู่เหนือล้อหน้าบริเวณคอรถ ส่งกำลังไปยังล้อหลังด้วยสายพานขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นแนวคิดของ จูลส์ โกเบียต วิศวกรชาวฝรั่งเศส ตั้งใจออกแบบมาเพื่อลดอาการเสียศูนย์ทางด้านข้างที่มักเกิดขึ้นกับรถมอเตอร์ไซค์ระบบขับเคลื่อนล้อหน้าในยุคนั้น อีกหนึ่งจุดเด่นคือ การออกแบบตัวเครื่องยนต์ของรถมอเตอร์ไซค์ Royal Enfield แบบแนวนอน  ซึ่งแตกต่างจากเครื่องยนต์ทั่วไปที่มักแยกครึ่งแบบแนวตั้ง  ข้อดีของการออกแบบทรงนี้ ช่วยป้องกันน้ำมันเครื่องรั่วไหลไปโดนล้อหน้า

สำหรับระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง อาศัยคาร์บูเรเตอร์แบบ Longuemare Spray ติดตั้งอยู่ด้านข้างถังน้ำมัน ต่ำกว่าระดับฝาสูบ โดยมีท่อทางเดินความร้อนจากท่อไอเสีย เพื่อช่วยให้น้ำมันรักษาระดับความร้อน สำหรับระบบหล่อลื่น ผู้ขับขี่ต้องใช้น้ำมันหล่อลื่นหยอดเข้าไปในตัวเครื่องยนต์ด้วยปั๊มมือที่ติดตั้งอยู่ด้านซ้ายของสูบ โดยน้ำมันจะถูกเผาไหม้หมดภายในระยะทาง 10-15 ไมล์ จึงจำเป็นต้องเติมน้ำมันหล่อลื่นใหม่อย่างสม่ำเสมอ

ฝาสูบมาพร้อมกับระบบวาล์ไอเสียแบบกลไกและวาล์วอัตโนมัติ โดยวาล์อัตโนมัติจะปิดโดยสปริงและเปิดออกด้วยแรงดูด เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ลงแรงดูดจะเปิดวาล์อัตโนมัติให้อากาศและน้ำมันไหลเข้าสู่ห้องเผาไหม้ ระบบจุดระเบิดอาศัยชุดจานจ่ายแบบตัดต่อ ส่งกระแสไฟไปยังหัวเทียน ทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้อยู่ในรอบต่ำ  

https://www.benewsonline.com/wp-content/uploads/2024/05/Project-Origin-4-800x445.jpg
 
การสตาร์ทเครื่องยนต์ ใช้แรงปั่น  หลังจากเครื่องยนต์ติด ผู้ขับขี่จะปรับคันเร่ง เป็นการปรับเปิด-ปิดคาร์บูเรเตอร์ ควบคุมด้วยคันโยกทางด้านขวาของถังน้ำมัน สำหรับการลดความเร็ว ผู้ขับขี่จะใช้ลิฟท์วาล์วควบคุมการเปิด-ปิดวาล์วไอเสีย ระบบเบรกของล้อหน้าเป็นแบบแบนด์เบรก ควบคุมด้วยมือซ้าย ส่วนล้อหลังใช้เบรกแบบแบนด์เบรกเช่นกัน แต่ควบคุมด้วยการถอยหลัง เบาะนั่งเป็นเบาะหนัง Lycette La Grande ล้อขนาด 26 นิ้ว สวมยาง Clipper 2 x 2 นิ้ว

ด้วยการออกแบบเครื่องยนตร์และสรีระของตัวรถทั้งหมด หัวใจสำคัญของ Project Origin อยู่ที่การผสมผสานองค์ความรู้ใหม่เข้ากับภูมิปัญญาอันเก่าแก่ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญได้รวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ภาพถ่าย และ ภาพประกอบต่างๆ จากปี 1901 เพื่อสร้างแบบจำลอง (CAD) ของชิ้นส่วนต่างๆ จากนั้นจึงนำไปขึ้นรูปด้วยการหล่อหรือกลึงขึ้นใหม่ทีละชิ้น

https://autoinfo.co.th/uploads/2024/04/1240_IMG_2056_2024042714424122.jpeg

ความท้าทายที่สำคัญอยู่ที่การผลิตถังน้ำมันทองเหลือง  ซึ่งทีมผู้เชี่ยวชาญสามารถประดิษฐ์ขึ้นจากแผ่นทองเหลืองเพียงแผ่นเดียว ด้วยการดัด ขึ้นรูป และตอกอย่างประณีต ด้วยเครื่องมือโบราณที่แทบสูญหายไปจากกระบวนการผลิตในยุคปัจจุบัน โครงสร้างเฟรมแบบท่อของมอเตอร์ไซค์คันนี้ ได้รับการเชื่อมประสานด้วยทองเหลือง (Brazing) อย่างพิถีพิถันโดยทีมงาน Harris Performance

นอกจากนี้ ชิ้นส่วนสำคัญอย่างก้านโยกและสวิตช์ ก็ล้วนผ่านการขึ้นรูปด้วยมือจากเนื้อทองเหลืองเช่นกัน นอกจากนี้ ชิ้นส่วนแท้สมัยต้นศตวรรษที่ 20 ที่สามารถรวบรวมมาได้ อาทิ โคมไฟ แตร เบาะหนัง และล้อ ได้รับการบูรณะและชุบนิกเกิลขึ้นใหม่เพื่อให้มอเตอร์ไซค์ ‘Project Origin’ ดูราวกับว่าเพิ่งเปิดตัวต่อสาธารณชนครั้งแรกในงาน Stanley Cycle Show เมื่อปี 1901

https://cf.autodeft2.pw/content/20240510/project-origin-10-gzFE1m.jpg

คุณ อนุจ ดัว - หัวหน้าฝ่ายธุรกิจ โรยัล เอ็นฟีลด์ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค (Head of Business, Royal Enfield-APAC) กล่าวในงานเผยโฉม Project Origin ในไทยว่า “การนำ Project Origin มาอวดโฉมที่ประเทศไทย เพื่อแบ่งปันประวัติศาสตร์อันยาวนานของ Royal Enfield ที่เราภาคภูมิใจให้กับสาวก Royal Enfield ในประเทศไทยได้ร่วมชื่นชม การนำเสนอเรื่องราวนี้เราต้องการให้ผู้ที่ชื่นชอบรถมอเตอร์ไซค์ Royal Enfield ได้สัมผัสประวัติศาสตร์ด้วยตัวเอง

ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศไทยถือเป็นตลาดที่น่าสนใจและสำคัญมากสำหรับเรา เราเรียกประเทศไทยว่าเป็นบ้านหลังที่สองของ Royal Enfield ถัดจากอินเดียได้เลย สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ กลุ่มลูกค้าชาวไทยและชุมชนมอเตอร์ไซค์ Royal Enfield ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว นับเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตของเรา”

https://cf.autodeft2.pw/content/20240510/project-origin-11-wZMyqP.jpg

นอกจากนี้ คุณ กอร์ดอน เมย์  นักประวัติศาสตร์ของ Royal Enfield กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของความหลงใหลในแบรนด์ Royal Enfield ว่า "ทุกอย่างเริ่มต้นจากโชคชะตา ครั้งแรกที่ผมได้สัมผัสกับรถมอเตอร์ไซค์สัญชาติอังกฤษ มันคือรถมอเตอร์ไซค์ของ Royal Enfield นับจากนั้นมาก็เป็นความประทับใจต่อเนื่อง หลังจากนั้น ผมตัดสินใจออกเดินทางไกลด้วยรถมอเตอร์ไซค์ Royal Enfield Bullet 350 เดินทางไปทั่วอินเดียและเนปาลเป็นเวลากว่า 5 เดือน ด้วยเอกลักษณ์ของรถ ผสานด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนานของแบรนด์ เริ่มตั้งแต่สหราชอาณาจักร มายังอินเดีย และขยายตลาดสู่ระดับโลก นับเป็นการเดินทางที่น่าทึ่งของแบรนด์ ทั้งหมดล้วนเป็นแรงบันดาลใจไม่สิ้นสุดที่ทำให้ผมผูกพันกับ Royal Enfield มาจนถึงวันนี้"

‘Project Origin’ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นและความคิดสร้างสรรค์ที่ Royal Enfield ยึดมั่นมาตลอดระยะเวลากว่า 123 ปี ‘มอเตอร์ไซค์คันแรก’ คันนี้ เปรียบเสมือนรากฐานอันแข็งแกร่งให้กับการเดินทางอันน่าทึ่งและยั่งยืน ของ Royal Enfield ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การแบ่งปันเรื่องราวของ ‘Project Origin’ ในไทยครั้งนี้ ถือเป็นการตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของ Royal Enfield ในการเชื่อมโยงผู้ที่หลงใหลในรถมอเตอร์ไซค์ของแบรนด์ให้เข้าถึงจิตวิญญาณ ‘Pure Motorcycling’ อย่างแท้จริง

ขับเคลื่อนโดย Blogger.