ติดต่อโฆษณา ส่งข่าวประชาสัมพันธ์ เชิญร่วมงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือเชิญทดสอบรถ ติดต่อ Car4YouMag

Car4YouMag

Continental Automotive Bangkok นำเสนอนวัตกรรม เทคโนโลยี และบริการยานยนต์ล้ำสมัย


 

Continental Automotive Bangkok (คอนติเนนทอล ออโตโมทีฟ แบงคอก) ผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยียานยนต์ แถลงข่าวการปรับกลยุทธ์ พร้อมทั้งนำเสนอนวัตกรรมยานยนต์ประจำปี 2565 นำโดย มร. ปีเตอร์ รางเคิล (Mr. Peter Rankl) ประธานฝ่ายบริหารภูมิภาคอาเซียน และดร. ณรงศักดิ์ รัตนสุวรรณชาติ ผู้จัดการทั่วไปประจำประเทศไทย และผู้อำนวยการฝ่ายขาย และการตลาดภูมิภาคอาเซียน ณ ห้องเดอะกลาสเฮาส์ โรงแรมปาร์คนายเลิศ

โครงสร้างใหม่ประกอบด้วย 3 ภาคส่วนที่ให้ประโยชน์ชัดเจน

Continental ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่และปรับโครงสร้างให้มุ่งสู่ตลาดที่ชัดเจนยิ่งขึ้น โครงสร้างใหม่ของคอนติเนนทอลประกอบด้วยธุรกิจ 3 ภาคส่วนภายใต้หลังคาเดียวกัน ได้แก่ กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีด้านยานยนต์ กลุ่มธุรกิจยางรถยนต์ และกลุ่มธุรกิจคอนติเทค (กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางทางเทคนิคและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีพลาสติก) ทำให้บริษัทฯ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและไม่มีบริษัทอื่นในตลาดที่สามารถนำเสนอในเรื่องเดียวกันกับที่คอนติเนนทอลทำได้ มร. ปีเตอร์ รางเคิล กล่าวว่า “คอนติเนนทอลมุ่งมั่นในการพัฒนาโซลูชันทีจะเป็นนวัตกรรมสำหรับการช่วยเหลือการขับขี่ และการขับขี่แบบอัตโนมัติ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของเราเกี่ยวกับโลกที่ปราศจากอุบัติเหตุจราจร นอกจากเรื่องความปลอดภัยแล้ว เรายังให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ไม่เพียงแต่ทำให้การขับขี่ปราศจากความเครียดเท่านั้น แต่ยังมอบประสบการณ์ใหม่ๆ ให้แก่ผู้ใช้งานอีกด้วย ขณะนี้คอนติเนนทอลกำลังกำหนดมาตรฐานสำหรับการขับขี่แบบเชื่อมต่อสำหรับอนาคต ด้วยการใช้เทคโนโลยีการขับขี่แบบไร้รอยต่อและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพสูง"

https://www.techtalkthai.com/wp-content/uploads/2022/11/%E0%B8%A1%E0%B8%A3.-%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%A5-Mr.-Peter-Rankl-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9D%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99-%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%B1%E0%B8%97-%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A5-%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%9F1-1536x1024.jpeg

Continental นำเสนอพอร์ตโฟลิโอนวัตกรรมเทคโนโลยีในยานยนต์

มร. ปีเตอร์ รางเคิล ได้นำเสนอกลุ่มธุรกิจของคอนติเนนทอลทั้ง 5 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ การขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Autonomous Mobility) ความปลอดภัยและการขับเคลื่อน (Safety and Motion) ยานยนต์อัจฉริยะ (Smart Mobility) การเสริมสร้างประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience) สถาปัตยกรรมและการเชื่อมต่อโครงข่าย (Architecture and Networking)

โดยในส่วนแรกได้นำเสนอเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติที่ใช้กล้อง เรดาห์และเซนเซอร์ต่าง ๆ เข้าช่วยเหลือผู้ขับขี่ เริ่มจากกล้องมัลติฟังก์ชันอัจฉริยะจับภาพด้านหน้าที่สามารถตรวจจับวัตถุกีดขวางได้เร็วขึ้น ตรวจจับเส้นแบ่งจราจร และควบคุมสถานการณ์การจราจรที่ซับซ้อนบนท้องถนน ตรวจจับสัญญาณไฟจราจร ป้ายจราจร และสามารถแจ้งเตือนเมื่อผู้ขับขี่เมื่อเกิดการขับขี่ที่ไม่มั่นคงได้ อีกทั้งยังมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ป้องกันการโจรกรรมทางไซเบอร์ได้อีกด้วย

กล้อง Surround View System ให้มุมมองรอบทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ขับขี่ในหลายสถานการณ์ ตั้งแต่การตรวจจับสิ่งกีดขวางล่วงหน้า การตรวจสอบจุดบอดของรถเมื่อเปลี่ยนเลนบนท้องถนน ไปจนถึงการจอดรถเทียบข้างทางโดยที่รถไม่ปีนทางเท้า

https://www.techoffside.com/wp-content/uploads/2022/11/C-Continental-01.jpg

Surround Radars ช่วยเพิ่มความปลอดภัยด้วยการตอบสนองที่มากขึ้น ทำให้เรดาร์รอบทิศทางที่ตรวจจับได้ถึง 360 องศา สามารถตรวจจับวัตถุได้รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น เช่น รถจักรยาน หรือรถจักรยานยนต์ขณะข้ามทางแยก แม้ว่าตำแหน่งของเซนเซอร์จะอยู่ด้านหลังกันชนทั้งซ้ายและขวาของตัวรถ แต่เรดาร์รอบทิศทางก็จะยังสามารถช่วยเหลือผู้ขับขี่และการขับขี่อัตโนมัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับมาตรฐานระดับความปลอดภัยในอุตสาหกรรมยานยนต์ ASIL-B

เทคโนโลยีระบบเบรกไม่ว่าจะเป็นในรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ต่างก็เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญไม่แพ้กัน MK120 เป็นระบบเบรกอิเล็กทรอนิกส์รุ่นใหม่จากคอนติเนนทอล ใช้สำหรับระบบควบคุมเสถียรภาพทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนสมรรถนะไฮดรอลิกเพื่อรองรับการเบรกฉุกเฉินแบบอัตโนมัติ รองรับระบบเพิ่มแรงดันเบรกแบบสุญญากาศและแบบไฟฟ้า และยังมีความสามารถสร้างกำลังในการเบรก พร้อมลดแรงดันในเวลาเดียวกัน

https://www.techoffside.com/wp-content/uploads/2022/11/I-Continental-01.jpg

นอกจากเทคโนโลยีความปลอดภัยในระบบเบรกแล้ว การควบคุมถุงลมนิรภัยนั้นก็สำคัญไม่แพ้กัน ชุดควบคุมถุงลมนิรภัย (Airbag Control Units) ที่ทันสมัยจาก Continental สามารถควบคุมการทำงานของถุงลมนิรภัยได้มากถึง 48 ใบ และคาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต ประสิทธิภาพของ ACU จะแตกต่างกันไปตามแต่ละส่วนของยานพาหนะและอุปกรณ์ ซึ่งมีฟังก์ชันพื้นฐานในการป้องกันการกระแทกจากด้านหน้าและด้านหลังด้วยถุงลมนิรภัย ตัวปรับสายคาดนิรภัย และยังมีฟังก์ชันเพิ่มเติม เช่น การอัปเดตแบบ Over-The Air

บริษัทเทคโนโลยียังมีเซ็นเซอร์ 2 ตัวสำหรับรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ได้แก่ Current Sensor Module (CSM) และระบบ Battery Impact Detection (BID) โซลูชันใหม่ทั้งสองมุ่งเน้นไปที่การปกป้องแบตเตอรี่และส่งข้อมูลไปยังส่วนอื่นๆ เพื่อให้ระบบควบคุมรักษาพารามิเตอร์ของแบตเตอรี่ 

https://www.techoffside.com/wp-content/uploads/2022/11/F-Continental-01.jpg

ภายในปี 2565 คอนติเนนทอลจะเริ่มผลิตโมดูลเซ็นเซอร์กระแสไฟแรงสูง (CSM) ใหม่ทั้งหมด การออกแบบเซ็นเซอร์โมดูลาร์ขนาดกะทัดรัดนี้วัดกระแสและตรวจจับอุณหภูมิพร้อมกัน ค่าทั้งสองมีความเกี่ยวข้องสูงโดยเป็นอินพุตสำหรับการจัดการแบตเตอรี่ ส่วนประกอบที่เป็นนวัตกรรมใหม่ของการป้องกันแบตเตอรี่จะถูกนำออกสู่ตลาดโดยคอนติเนนทอลคือ โซลูชันที่เรียกว่า Battery Impact Detection (BID) จะตรวจจับแรงกระแทกจากภายนอกที่ส่งผลต่อความเสียหายของแบตเตอรี่ เป็นทางเลือกที่มีน้ำหนักเบาลง ตอนสนองเร็วขึ้น และปกป้องแบตเตอร์รี่ได้ในขณะเดียวกัน

เมื่อพูดถึงอุบัติเหตุในรถจักรยานยนต์ โอกาสการเกิดอุบัติเหตุสามารถลดลงได้มาถึง 10% เมื่อรถจักรยานยนต์ติดตั้งระบบ ABS  ในสถานการณ์ที่ผู้ขับเบรกรถแบบกระทันกัน ระบบเบรกแบบธรรมดาจะไม่มีคุณสมบัติกระจายระบบแรงระหว่างล้อหน้าและล้อหลัง ทำให้ล้อล็อคและผู้ขับขี่สามารถสูญเสียการควบคุมรถได้ หากใช้ระบบเบรก ABS ระบบจะเป็นตัวช่วยควบคุมแรงดันในการเบรคให้ลงลด-เพิ่มขึ้นอย่างเป็นจังหวะ ป้องกันรถสะบัด ล้อล็อค ลื่นไถล และพลิกคว่ำ ทำให้ผู้ขับขี่สามารถทรงตัวและบังคับทิศรถทางได้ ในปัจจุบันคอนติเนนทอลมี ABS รุ่น MK 100 MAB โดยติดตั้ง 2 ล้อหน้า-หลัง และมีฟังก์ชันอื่น ๆ ได้แก่ ฟังก์ชันป้องกันล้อหมุนฟรี(Traction Control System) ฟังก์ชันเพิ่มความปลอดภัยเมื่อเบรกขณะเข้าโค้ง (Optimized Curve Braking) และฟังก์ชันตรวจจับการยกตัวขึ้นของล้อหลังโดยเฉพาะเพื่อการชะลอความเร็วที่เหมาะสมอย่างมีเสถียรภาพ (Rear Wheel Lift-Off Protection, RLP)

https://bangkok-today.com/wp-content/uploads/2022/11/%E0%B8%A1%E0%B8%A3.-%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%A5-Mr.-Peter-Rankl-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0-%E0%B8%94%E0%B8%A3.-%E0%B8%93%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4-1-1.jpeg

ดร. ณรงศักดิ์ รัตนสุวรรณชาติ กล่าวว่า “ในปัจจุบันลูกค้าเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในตลาดเทคโนโลยี เห็นได้จากความต้องการเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น การใช้สมาร์ทโฟนในการเข้าถึงฟังค์ชันต่าง ๆ ของรถ ระบบเทเลเมติกส์ รถยนต์นำร่องที่เป็นระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ และหน้าจอแสดงผลที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขับขี่อย่างปลอดภัยบนท้องถนนได้รับการปรับปรุงเพื่อรองรับการขับขี่แบบอัตโนมัติ เช่น แนวทางการควบคุมเบรกในมอเตอร์ไซด์ กฎระเบียบของสหภาพยุโรปสำหรับการตรวจสอบผู้ขับขี่”

ระบบเตือนการชนจาก Continental จะทำหน้าที่เป็น Digital Guardian Angel ซึ่งจะให้การปกป้องมีประสิทธิภาพสำหรับผู้ใช้ถนนที่มีความเสี่ยงเป็นพิเศษในอนาคต โดยระบบจะใช้ข้อมูลจากวัตถุการจราจรในพื้นที่สี่แยกที่ตรวจพบ ข้อมูลไฟเบรก และแผนที่ดิจิทัลที่แม่นยำ คำเตือนเกี่ยวกับการชนที่จะเกิดขึ้นจะถูกส่งในแบบทันทีผ่านเครือข่าย Low Latency ของบริษัท Deutsche Telekom ไปยังผู้ใช้ถนนที่มีแอปพลิเคชัน T-Systems ที่สอดคล้องกันบนสมาร์ทโฟนของตน นี่คือวิธีที่ เทคโนโลยี Digital Guardian Angel ปกป้องผู้ใช้ถนนที่มีความเสี่ยงเป็นพิเศษ เช่น คนเดินถนน ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ หรือนักปั่นจักรยาน รวมถึงผู้ขับขี่รถยนต์จากอุบัติเหตุ มร. ปีเตอร์ รางเคิล กล่าว “สำหรับ Continental 'Vision Zero' หรือ โครงการลดอุบัติเหตุทางถนนให้เป็นศูนย์ มีความสำคัญสูงสุดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ Digital Guardian Angel ที่พัฒนาขึ้นภายใต้ความร่วมมือในครั้งนี้ร่วมกับระบบความช่วยเหลืออื่นๆ ทำให้เราเข้าใกล้เป้าหมายมากขึ้น”

https://www.techoffside.com/wp-content/uploads/2022/11/H-Continental-01.jpg

Continental ได้พัฒนาโซลูชันแบบบูรณาการสำหรับเทคโนโลยีเซนเซอร์ภายใน (Cabin Sensing) ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยในอนาคต และเพิ่มความสะดวกสบายภายในรถ โซลูชั่นเซนเซอร์ภายในรถนี้บริษัทเทคโนโลยีได้รวบรวมเอาความเชี่ยวชาญหลายปีในทุกด้านของกล้องภายในรถ ที่ใช้ในการโต้ตอบระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร กับความรู้ความชำนาในเรื่องเทคโนโลยีเซนเซอร์เรดาร์ 

ด้วยเหตุนี้ คอนติเนนทอลจึงก้าวไปไกลกว่าการใช้เซนเซอร์ผู้ขับขี่เพียงอย่างเดียวด้วยการใช้เซนเซอร์ตรวจจับสิ่งมีชีวิตในรถได้อย่างแม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่ เด็ก หรือสัตว์เลี้ยง นี่เป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย และนำเสนอโครงสร้างเพิ่มเติมสำหรับยานยนต์ในอนาคต เช่น การขับขี่อัตโนมัติ เทคโนโลยีนี้สอดคล้องกับกฎระเบียบด้านความปลอดภัยในอนาคตของคณะกรรมาธิการยุโรปและองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรทดสอบการชน ของรถยนต์แห่งทวีปยุโรป European New Car Assessment Program (Euro NCAP) ในส่วนของ ASEAN NCAP มีโซลูชันนี้ในแผนงานของปี 2564-2568 แล้ว

เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับความอัจฉริยะในระบบเครือข่ายและการเชื่อมต่อข้อมูลต่างๆ Continental ก็ได้มีการนำเสนอ CoSmA ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อระหว่างยานพาหนะเข้ากับสมาร์ทโฟน ทำให้สามารถสื่อสาร สั่งการ แชร์กุญแจดิจิทัล สตาร์ทและดับเครื่องยนต์ รวมถึงเฝ้าดูรถได้จากสมาร์ทโฟน และสิ่งขาดไม่ได้เลยในนวัตกรรมยานต์ที่ช่วยเชื่อมต่อระบบต่างๆ เข้าด้วยกันนั้นคือ ระบบเทเลเมติกส์ (Telematics) ที่เป็นการเชื่อมต่อยานพาหนะทั้งรถยนต์ส่วนบุคคล และยานพาหนะเพื่อการพาณิชย์ เข้ากับคลื่นสัญญาณ 5G ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการนำยานพาหนะเข้าสู่โลกแห่งการขับเคลื่อนอัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบ อีกทั้งยังคลายความกังวลในด้านความปลอดภัยทั้งกับตัวรถและผู้ใช้รถ รวมไปถึงการเข้าถึงความบันเทิงและการอัปเดตแอปพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์ต่าง ๆ อีกด้วย

https://www.techoffside.com/wp-content/uploads/2022/11/Continental-technology.jpg

เทคโนโลยีที่ให้บริการอย่างเป็นทางการแล้วจาก Quantum Inventions


Quantum Inventions คือ บริษัทในเครือของ Continental ที่ส่งมอบข้อมูลการเดินทางอัจฉริยะให้กับผู้สัญจร องค์กร และภาครัฐ ตอนนี้เปิดให้บริการแพลตฟอร์ม Share Care ในประเทศอินโดนีเซีย และแพลตฟอร์ม Limousine Dispatch ในประเทศสิงคโปร์

เนื่องจากการไลฟ์สไตล์ของคนเมืองเปลี่ยนไปจึงเกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกัน โดย Share Car ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เพิ่งเปิดตัวใหม่ที่จะมอบประสบการณ์แปลกใหม่ให้กับผู้เช่ารถ Share Car เป็นแอปพลิเคชันเช่ารถเพียงแอปฯ เดียวที่ช่วยให้ผู้เช่ารถสามารถเรียกใช้รถได้ตลอด 24 ชั่วโมง และสามารถใช้รถได้โดยไม่ต้องใช้กุญแจ เพียงติดตั้งแอปฯ Share Car บนสมาร์ทโฟนก็สามารถเช่ารถและใช้ฟังก์ชันกุญแจเพื่อเข้าถึงรถได้ แพลตฟอร์มนี้เริ่มใช้งานจริงเมื่อปี 2563 ที่เมืองจาการ์ตา ประเทศอินโดนิเซีย

ส่วน Limousine Dispatch ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อปี 2564 แพลตฟอร์มนี้ใช้สำหรับจัดส่งรถลีมูซีนแบบครบวงจรสำหรับผู้ขับขี่ภายในและภายนอกองค์กรโดยผู้ใช้งานสามารถเข้าไปจองผ่านเว็บพอร์ทัล Dispatcher โดยระบบมีแอปพลิเคชันรองรับพร้อมระบบนำทางในตัวสำหรับคนขับเพื่อรับและจัดตารางการรับงาน นอกจากนี้ยังใช้ Fleet telematics ในการการติดตามตำแหน่งยานพาหนะอีกด้วย

ขับเคลื่อนโดย Blogger.